ชุมชนลูกองค์พ่อจตุคามรามเทพ พระโพธิสัตว์พังพระกาฬชุมชนลูกองค์พ่อจตุคามรามเทพ พระโพธิสัตว์พังพระกาฬ
กันยายน 08, 2024, 10:14:08 AM*

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว:
การค้นหาขั้นสูง  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญของลูกประคำ  (อ่าน 15195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
u-ro
Global Moderator
Hero Member
*****
กระทู้: 688


Papa น้องมิว 0830669533

srawud@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 10:14:55 PM »

การใช้ลูกประคำสวดมนต์

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ลูกประคำสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๕ โดยฤาษีคุปตะ จุลละ และเทวิละ ฤาษีทั้ง ๓ ทำตำราลูกประคำ ตำราลูกประคำสำเร็จโดยฤาษีอัชชะโคนะ ฤาษีอัชชะโคนะนี้เดิมเป็นพระ แต่เมื่อมาปฏิบัติในป่าเกิดลำบาก เพราะต้องฆ่าสัตว์ จึงสึกออกมาบวชเป็นฤาษี มาปฏิบัติโดยใช้ลูกประคำ และสำเร็จโลกียฌาน และมีฤาษีอีกหลายองค์ที่สำเร็จโดยลูกประคำ เช่นฤาษีปุปุอ่อง พัชชะโคนะ การสวดของพระฤาษีนี้ใช้ลูกประคำสวดมนต์ โดยตั้งจิตก่อนสวดลูกประคำ และระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ นะโมพุทธายะแล้วสวดมนต์และนับลูกประคำไปเรื่อยๆ สวดมนต์ไปเรื่อยๆ โดยบทสวดมนต์ “อาฏานาฏิยะปะริตตัง” ดังนี้
แล้วต่อมาจาก ฤาษี ๓ องค์ อัชชะโคนะ พัชชะโคนะ และ ปุปุอองแล้ว ก็มีการเอาลูกประคำมานับในการเข้าสมาธิสวดมนต์ พิจารณาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือ จุลละกัสสะปะ พร้อมกันนี้ก็พิจารณา กายานุสติ(อาการ ๓๒) ด้วย และจุลละกัสปะธิ เป็นผู้ที่เริ่มก่อตั้งลัทธิมหายาน พวกที่บวชอยู่ในลัทธิมหายานจึงใช้ประคำสวดมนต์ ทำสมาธิกันทุกองค์

อัชชะโคนะ ตอนเป็นพระมีนามว่า ยะสะปาโล อยู่ป่าเป็นพระ จึงไม่เหมาะสม เพราะจะอาบัติบ่อยๆ ก็เลยสึกออกมาอยู่ป่าเป็นฤาษี เป็นพระมา ๒๐ ปี
ปุปุออง ตอนเป็นพระมีนามว่า ญาณะรังสี เหตุที่ต้องสึกออกมาเป็นฤาษีก็ด้วยเหตุเดียวกับ อัชชะโคนะ


การที่เราจะนั่งสวดลูกประคำ จิตใจเราต้องเป็นสมาธิจิต เมื่อสวดเสร็จเรียบร้อย เราจะสวด อัสสาสะ ปัสสาสะ อานาปานะสติ ตั้งกำหนดลมหายใจเข้าออกให้เป็นสมาธิ ทำกายะคะตาสะติ เกสา โลมา นะขา ทันตา... พอเสร็จแล้วก็อนุโลม ปฏิโลม ให้ใจเป็นสมาธิอยู่กับลูกประคำนับที่ลูกประคำ

การสวดปริตรของพระพุทธองค์ด้วยลูกประคำ ทำให้มีอานุภาพมาก ถ้าเรามีสมาธิจิตตัวอยู่ดี จะทำอะไรก็สำเร็จ อันตราย ภัยต่างๆ ก็จะไม่เกิด ไม่มีใครทำอะไรเราได้ ปริตรเป็นที่ป้องกันทุกสิ่งทุกอย่าง

บทสรุป ปริตรทั้งหมด

นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะ นิวาระณา
ปริตตัสสานุภาเวนะ หันตะวา เตสัง อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

ด้วยอานุภาพของการสวด นับลูกประคำนี้ทำให้เกิดเมตตา ป้องกันอันตราย เป็นสมถะภาวนา ด้วยเราพิจารณากรรมฐานด้วยลูกประคำ ถ้าเราจะสวดกันจริงๆ ก็ยาวมาก

ในปัจจุบันลูกประคำ ทำได้ยาก ต้องเอาคุณ เอาที่ป้องกัน เป็นฌานเป็นอักขระ คนที่นับลูกประคำ ถ้าสวดแล้วนับดีๆ มีจิตเป็นสมาธิ ก็จะได้ผลเยอะมาก ถ้าจะนับประคำก็จะต้องนับแบบ ๑๐๘ เม็ด

ประคำ ๙ เม็ด คือ โลกุตร ๙ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ประคำแบบ ๙ เม็ดนี้มาเกิดขึ้นทีหลัง มาแยกพวกกันระหว่าง มหายานและหินยาน

พวกมหายานจะใช้ประคำ ๙ เม็ด คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ บารมีเป็นใหญ่ มรรคก็ดี นิพพานก็ดี

พวกจุลละยาน เป็นนิกายที่แยกมาจากมหายานอีกทีหนึ่ง พวกนี้ถือประคำ ๗ เม็ด คือ อภิธรรม ๗ พวกจุลละยานนี้ นักบวชมีภรรยาได้ ถือประคำ ๗ เม็ด จิตเป็นใหญ่ สัจจะเป็นใหญ่

ประคำโทน คือ เอาคุณจากประคำ ๑๐๘ เม็ด มารวมกันไว้ในประคำเพียงเม็ดเดียว เป็นประคำโทน เหมือนที่สวดอิติปิโสภควา ถือว่าพวกเราเหมือนมีหัวใจอยู่หนึ่งเดียว ถือมั่นติดตัวเอาไว้ เหมือนมีประคำ ๑๐๘ เม็ดอยู่ในเม็ดเดียว

  ดังนั้นการนับลูกประคำ สวดมนต์บทนั้นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว จะสำเร็จโลกีย์ฌาน เพราะตั้งจิตให้อยู่กับลูกประคำ ถ้าไม่มีสติก็จะนับไม่ถูก นับไปก็ต้องตั้งสติไป จึงจะสำเร็จโลกีย์ฌานได้ ดังเช่น พระอัชชะโคนะและปุปุออง ดังกล่าวมาแล้วนั้นแล...
บันทึกการเข้า

u-ro
Global Moderator
Hero Member
*****
กระทู้: 688


Papa น้องมิว 0830669533

srawud@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2010, 10:16:29 PM »

พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่ออุตตมะเรื่อง"ประวัติลูกประคำ ๑๐๘"

ธรรมว่าด้วยการนับลูกประคำ

ลูกประคำที่หลวงพ่อได้สวดแผ่เมตตา เพื่อแจกแกศิษย์ จะใช้เป็นวัตถุมงคลให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อให้คุ้มครองตน หรือจะนำมาใช้ในการนับจำนวนจบที่ต้องการในการสวดมนต์และบริกรรมก็ยิ่งดียิ่งมีคุณแก่ตน

  หลวงพ่อเล่าว่า เมื่อพระมหินทเถระ และพระนางสังฆมิตตาเถรีราชบุตร และราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชได้รับการร้องขอให้บวชในพระพุทธศาสนาเพื่อพระราชบิดาจะได้ชื่อว่า เป็นญาติกับพระศาสนานั้น ได้กำหนดจะบวชเพียง ๗ วัน และเร่งวันคืนที่จะสึกออกมาเสวยสุขในมหาสมบัติทางโลก เมื่อบวชแล้ว อาจารย์ได้สอนให้ใช้ลูกประคำ และได้มรรคผลจากการนับลูกประคำนี้

ลูกศิษย์ของหลวงพ่อท่านใด มีอุปนิสัยเหมาะแก่การใช้ลูกประคำประกอบการสวดมนต์เจริญภาวนา ก็จงถือเอาประโยชน์จากลูกประคำที่ท่านได้รับจากหลวงพ่อเถิด...

การภาวนาโดยนับลูกประคำ

การภาวนาให้ถึงศีล สมาธิ ปัญญา มีหลายวิธี การนับลูกประคำเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล

พระเดชพระคุณหลวงพ่ออุตตมะสอนให้ภาวนาโดยนับลูกประคำ ๑๐๘ เม็ด ด้วยคาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือให้กล่าวคาถาว่า
“นะ โม พุท ธา ยะ ยะ ธา พุท โม นะ มะ อะ อุ อุ อะ มะ” พร้อมนับลูกประคำทีละเม็ด จนครบ ๓ รอบลูกประคำแล้ว จึงภาวนาว่า “พุทโธ พุทโธๆ” พร้อมนับลูกประคำ หากภาวนาครบ ๑๐ รอบ จักเป็นมหากุศล

“นะ โม พุท ธา ยะ” คือพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในกัปนี้ “นะ”คือพระกกุสันโธพุทธเจ้า “โม”คือพระโกนาดมพุทธเจ้า “พุท”คือพระกัสสปพุทธเจ้า “ธา”คือพระศากยพุทธเจ้า “ยะ”คือพระศรีอาริยเมตไตรย “มะ อะ อุ”คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

นะกาโร กะกุสันโธ จะ โมกาโร โกนาคะมะโน
พุทกาโร กัสสะโป พุทโธ ธากาโร สักกะยะปุงคะโว
ยะกาโร อะริยะเมตเตยโย ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

การกล่าวคาถาเป็นการรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่ง เมื่อกล่าวคาถาพร้อมนับลูกประคำแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อความดีงามอันเป็นสิริมงคลแก่ตนสืบไป
.........


บทความ อ.ประหยัด สายสัญญาบารมี-ประยุกต์
บันทึกการเข้า

phuwadol
webmaster
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 797


ภายในของฉันสร้างสรรค์ภายนอก

kunphu_plus@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 06:40:26 PM »

ขอบคุณมากเลยครับ.... อยากมีความรู้เรื่องลูกประคำ สร้อยประคำ อยู่พอดีเลย 5555
บันทึกการเข้า

ภายในของฉันสร้างสรรค์ภายนอก ฉันมีสมองเงินล้าน !

http://www.xenmax.com
u-ro
Global Moderator
Hero Member
*****
กระทู้: 688


Papa น้องมิว 0830669533

srawud@hotmail.com
เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2010, 11:40:45 AM »

ท่าทางจะเล็งๆ ไว้ แน่เลย

ถ้ามีแล้ว ต้องนำมาปฎิบัติ ด้วยจึงจะดีนะครับพี่ สวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิ บ้างจึงดี
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

B l a c k - R a i n V.2 by C r i p ~ Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2006-2008, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF XHTML | CSS   

หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.218 วินาที กับ 24 คำสั่ง (Pretty URLs adds 0s, 0q)